10 ผักสวนครัวมีอะไรบ้าง ปลูกง่ายๆ ทั้งในกระถางและไฮโดรโปนิกส์

ผักสวนครัว คือพืชที่นิยมปลูกเพื่อนำเอาส่วนต่างๆ มาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ พริก ผักชี ต้นหอม กระเพรา ผักบุ้ง ต้นมะเขือเทศ ผักสลัด เป็นต้น

ผักสวนครัว

ผักสวนครัว เป็นพืชผักที่คนรักการปลูก นิยมปลูกไว้รับประทานในครัวเรือนมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่อง ซึ่งเคยเกิดกระแส “ผักสวนครัว รั้วกินได้” ในยุคหนึ่ง

แต่การปลูกผักนั้น จะให้เติบโตสวยงามได้ก็ต้องมีความเข้าใจการปลูกผัก การดูแล ซึ่งได้เขียนบทความเกี่ยวกับ เคล็ดลับ 5 ขั้นตอนปลูกผักอย่างไรให้งาม เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้

พืชผักสวนครัวคืออะไร?

พืชผักสวนครัว คือ พืชที่สามารถนำเอาส่วนต่างๆ เช่น ราก หัว ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก และผล มาเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงอาหาร โดยจะนิยมปลูกรอบๆบ้าน ให้ไกล้กับครัว เพื่อจะสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารได้สดๆและทันที

หรือจะเป็นการปลูกเพื่อจำหน่าย ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฟาร์มผัก ว่าจะปลูกพืชผักสวนครัว50ชนิด หรือปลูกพืชผักสวนครัว100ชนิด ก็แล้วแต่ความต้องการของตลาดนั่นเอง ประกอบกับผักสวนครัวปลูกง่าย โตเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่าผักชนิดอื่นๆ จึงนิยมปลูกในเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมาก

พืชผักสวนครัว
ผักสวนครัว

พืชผักสวนครัวมีอะไรบ้าง ที่นิยมปลูกกัน?

พืชผักนั้นมีหลากหลายชนิด ทั้งผักสวนครัวอายุยาว อายุสั้น แม้กระทั่งผักสวนครัว ปลูกครั้งเดียวกินพันครั้ง ก็ยังมี แต่ในที่นี้จะยกตัวอย่างเฉพาะชนิดที่นิยมปลูกที่สุด ได้แก่

1.ผักคะน้า รวมถึงผักเคล (คะน้าเคล)

ผักคะน้า เป็นผักกินใบ จึงนิยมปลูกกันเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากการปลูกผักคะน้าไว้ทานเองนั้น จะมีรสชาติ กรอบ อร่อย กว่าที่ซื้อในท้องตลาด และปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย เนื่องจากผักคะน้าที่ปลูกขายกันนั้นจะฉีดยาฆ่าแมลงกันเยอะ เพราะหนอนจะมาระบาดหนัก ลองสังเกตได้หากขับรถผ่านแปลงผักคะน้า กลิ่นยาฆ่าแมลงจะแรงมากๆ

ถ้าแนะนำ super food แนะนำให้ลองไปปลูกผักเคล (Kale) ดีกว่า มีประโยชน์มากกว่า อร่อยกว่า และปลูกง่ายกว่ามาก

ผักเคล

2.ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้งปลูก เป็นผักกลุ่มเดียวกับกะหล่ำและผักกาด นิยมปลูกเนื่องจากอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35 วัน มีหลายสายพันธุ์ ได้แก่

  • ผักกวางตุ้งไทย
  • ผักกวางตุ้งฮ่องเต้
  • ผักกวางตุ้งไต้หวัน
  • ผักกวางตุ้งฮ่องกง

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมาย อาทิ บำรุงสายตา บำรุงสมอง เสริมสร้างกระดูกและฟัน เป็นต้น

ผักกวางตุ้ง

3.ผักบุ้ง

ผักบุ้งเป็นผักที่ปลูกง่าย โตไว อายุเพียง 25 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ส่วนที่นิยมกันมากๆตอนนี้ คือการเพาะต้นอ่อนผักบุ้ง ซึ่งใช้เวลาประ 7-9 วัน ก็สามารถตัดเก็บมารับประทานได้แล้ว สำหรับการปลูกนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยาก สามารถปลูกได้ในทรายก่อนสร้าง ซึ่งอ่านได้จากบทความ “ปลูกต้นอ่อนผักบุ้งได้ง่ายๆด้วยทรายก่อสร้าง”

ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง

4.ต้นหอมแบ่ง

ต้นหอม หรือต้นหอมแบ่ง นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารเกือบจะทุกชนิด สามารถปลูกจากหัวพันธุ์ หรือจากเมล็ด ซึ่งอายุการเก็บเกี่ยวจะอยู่ประมาณ 60 วัน ราคาหอมในช่วงที่เป็นหน้าร้อน ราคาจะแพงมาก และมีการปรับราคาแทบจะทุกวัน

ต้นหอมแบ่ง

5.ต้นผักชี

ต้นผักชี นำมาปรุงเป็นอาหารได้ทั้งราก ลำต้น ใบ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุนที่เป็นลักษณะเฉพาะ ซึ่งผักชีไทยได้รับความนิยมมากๆ และมีราคาสูง ในประเทศญี่ปุ่น

ผักชี

6.ผักสลัด

ผักสลัด นักปลูกมือใหม่อาจจะไม่คุ้นเคยเท่ากับผักไทยๆ แต่ขอบอกได้เลยว่า การปลูกผักสลัดนั้น จริงๆแล้ว การปลูก และการดูแลง่ายกว่าผักของไทยเสียอีก เพราะโดยธธรรมชาติของผักสลัดเอง จะมียางที่แมลงศัตรูพืชไม่ค่อยชอบ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคพืช และศัตรูพืช เหมือนกับผักชนิต่างๆ ของไทย

สำหรับการปลูกผักสลัดนั้น เนื่องจากผักสลัดเองมีหลากหลายชนิด นักปลูกมือใหม่ ไม่รู้จะปลูกสายพันธุ์อะไรดี หรือชนิดไหนดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้

ผักสลัดประเภทสีเขียวจะปลูกง่ายกว่า สังเกตที่ขึ้นชื่อด้วย Green ต่างๆ เช่น Green oak, Green Cos, Butterhead เป็นต้น

ส่วนผักสลัดประเภทสีแดง ตระกูล Red ทั้งหลาย เช่น Red oak, Red coral ถ้ากรณีสายพันธุ์ที่มีสีแดงเข้ม จะปลูกยากหน่อย โตช้า เพราะเขาต้องการแสงแดดจัดเป็นเวลานานกว่าผักสลัดสีเขียว ดังนั้น หากพื้นที่ปลูกมีแสงแดดระหว่างวันน้อย ควรเน้นปลูกผักสลัดสีเขียวจะเหมาะสมกว่า

ผักสลัด

7.ต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศนั้นมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกนั้น จะได้แก่ มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี มะเขือเทศเชอรี่ (4 สายพันธธุ์ที่นิยมปลูก ให้ลูกดก ได้แก่ โซลาริโน่ สวีทเกิร์ล สวีทบอย และอุบลสวีท)

ต้นมะเขือเทศ

8.ต้นกระเพรา

ต้นกระเพรา เป็นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารเมนูโปรด เมนูสิ้นคิด คือ ผัดกระเพรา นอกจากนี้ยังใช้ในเมนูต้มโคล้งต่างๆ อีกด้วย

ปลูกกระเพรา

9.ต้นพริก

ต้นพริก นับว่าควรปลูกเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะมีอายุสั้น แต่ต้นพริกเองยังสามารถเก็บเม็ดของพริกมาปรุงสด หรือจะรอให้สุกแล้ว นำไปตากแห้ง ทำเป็นพริกป่นเก็บไว้นำไปปรุงอาหาร ก็ได้เช่นกัน ซึ่งพริกที่ปลูกเอง เก็บมาตากแดด คั่วทำพริกป่นนั้นจะปลอดภัยกว่าที่ซื้อ เพราะพริกที่เราซื้อนั้น ล้วนแต่จะใส่สีผสมอาหารเข้าไป เพื่อให้ดูมีสีแดงน่ารับประทาน

ปลูกพริก

10.ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว เป็นอีกหนึ่งในผักที่ควรปลูกไว้รับประทานเอง เนื่องจากถั่วฝักยาวที่ปลูกโดยทั่วไปนั้น จะมีสารเคมีฆ่าแมลงอยู่เกินค่ามาตรฐาน เพราะถั่วฝักยาวนั้น มักมีศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนเจาะฝัก เกษตรกรจึงจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมีบ่อยกว่าผักประเภทอื่น

ปลูกถั่วฝักยาว

ผักสวนครัวปลูกได้กี่แบบ?

1.ผักสวนครัวในกระถาง ในถุง ปลูกในภาชนะอื่นๆ (รวมถึงกระถางแบบแขวนด้วย)

ในบรรดาการปลูกผัลงภาชนะต่างๆ นั้น พบว่า การปลูกผักในถุงที่ระบายอากาศได้ดี พืชจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่า การปลูกลงในกระถางพลาสติกสีดำ

ปลูกผักในกระถาง

2.ปลูกลงแปลงผัก

การปลูกผักลงแปลงผัก จะเป็นการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งวิธีการแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับยุคสมัยนี้ เนื่องจากค่าจ้างแรงงาน และปัจจัยการผลิตอื่นๆ มีราคาที่สูงขึ้น

การปลูกลงแปลงผัก จึงได้มีการประยุกต์ให้แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อลดปัญหาเรื่องวัชพืช โดยมีการเทปูน หรือใช้พลาสติกคลุมดิน อีกวิธีก็จะเป็นการยกแปลงให้สูงขึ้น ซึ่งดีต่อการไม่ต้องก้มให้เมื่อย และดีตรงที่ไม่มีวัชพืชในแปลงผัก

ผักสวนครัว
ผักสวนครัว

3.การปลูกแบบ ใช้วัสดุปลูกอื่นๆ ทดแทนดิน (Substrate)

การปลูกแบบนี้ค่อนข้างจะได้ผลดี และผักเจริญเติบโตได้เร็ว เหมาะกับสถานที่ๆ ดินไม่ดี โดยจะมีการใช้วัสดุปลูก เช่น ก้อนดินเผา หินภูเขาไฟ เปลือกมะพร้าวสับ แกลบ ปลูกในทราย เหล่านี้ มาเป็นตัวพยุงต้นไม้ จากนั้นก็จะปล่อยธาตุอาหารพืชมาพร้อมกับระบบน้ำหยดในคราวเดียว

การปลูกแบบนี้ธาตุอาหารจึงไม่ถูกชะล้างลงไปเหมือนกับการปลูกลงบนดิน พืชได้รับอาหารที่เหมาะสม เต็มที่ จึงเจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่เร็วกว่าการปลูกลงดิน

substrate

4.การปลูกแบบไร้ดิน หรือ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)

การปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics) นั้นนิยมปลูกเชิงพาณิชย์มาก เนื่องจากใช้น้ำน้อย ใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อย ง่ายต่อการดูแล แต่มีข้อจำกัดตรงการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร A และ สูตร B ละลายน้ำส่งตรงไปยังรากข้องพืชผัก ซึ่งยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการมีสารไนเตรทตกค้างในผักที่ปลูก กลายเป็นสารก่อมะเร็งให้กับผู้บริโภคได้

ทั้งนี้ ทางกลุ่มเกษตรชิมลอง โดยทีม erevthai ได้ทดลองและพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ได้ผลใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ย AB ในผักสลัด ซึ่งจะนำมาเขียนถึงวิธีการปลูกแบบละเอียดในโอกาสต่อไป

ผักไฮโดรโปนิกส์
ผักสวนครัว

บทสรุป เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัว

การปลูกพืชผักสวนครัว นั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพ เพราะนอกจากประโยชน์ทางตรง ที่ได้จากการทานผลผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารเคมี ชนิดที่เราปลูกเอง การันตีเอง รับประทานเองแล้ว ประโยชน์ทางอ้อมนั้นยังมีอีกมากมาย เช่น สุขภาพกายดี สุขภาพใจดี เป็นกิจกรรมที่ครอบครัวได้ทำร่วมกัน นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้อีกด้วย ในเมื่อการปลูกผักมีประโยชน์มากมายแบบนี้ ไม่น่าจะมีเหตุผลอื่นใดที่จะปฏิเสธการปลูกผักไว้ทานเองใช่ไหม?

เคล็ดการปลูกพืชผักให้งามและโตไว ถ้าเข้าใจเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รับรองช่วยให้ผักงามง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี ลองชมจากคลิปด้านล่าง ซึ่งมียอดวิวร่วม 350,000 Views

ปลูกผักสวนครัวง่ายๆ ถ้าเข้าใจเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

Related posts

ปลูกผักสลัด

เทคนิคการปรุงดินปลูกผักสลัดลงแปลง ประสิทธิภาพสูง ง่ายๆ 2 ขั้นตอน

การปรุงดินปลูกผักสลัดลงแปลง ตามสูตรของลุงสุเทพ กุลศรี มี 2 ขั้นตอนง่ายๆ แต่ได้ประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี ใช้วัสดุ 3 ส่วน คือ ดิน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว

อ่านเพิ่มเติม
การเพาะเมล็ด

วิธีการเพาะเมล็ดผักง่ายๆ 5 รูปแบบ งอกเร็ว โตไว แข็งแรง ต่างกันอย่างไร?

วิธีการเพาะเมล็ด นั้นมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆของการปลูกพืช ซึ่งแต่ละวิธีนั้นมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน ซึ่งผู้ปลูกผัก ปลูกพืช ต้องมีความเข้าใจ

อ่านเพิ่มเติม
ต้นไม้โตเร็ว

วิธีโกงให้ต้นไม้โตเร็ว

เคล็ดไม่ลับสำหรับการทำให้ต้นไม้โตเร็วแบบง่ายๆ หรือที่เรียกว่า Hack Garden ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดี ปลอดสารเคมีแน่นอน เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ใจร้อนเป็นอย่างยิ่ง 

อ่านเพิ่มเติม